วันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

วิธีก่อสร้างโดยใช้สลิปฟร์อม (Slipform)


สลิปฟร์อม (Slipform)

        สวัสดีครับ วันนี้ผมมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับการใช้สลิปฟร์อมในงานก่อสร้าง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถช่วยลดปัญหาแรงงานในงานก่อสร้างได้เป็นอย่างมาก ผมจะพูดถึงข้อดี ข้อเสีย และวิธีการใช้งานของสลิปฟร์อม หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่สนใจในการก่อสร้างครับ

       ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าสลิปฟร์อมคืออะไร สลิปฟร์อม (Slipform) เป็นเทคโนโลยีของการก่อสร้างผนังคอนกรีตรับแรงแนวดิ่ง เช่น ใช้สำหรับก่อสร้างช่องลิป หอถังสูง ถังน้ำใส ไซโล อาคารสูง ฯลฯ โดยใช้แม่แบบสำหรับหล่อคอนกรีต 1 ชุดด้วยความสูง 1.05 ม. แต่สามารถหล่อคอนกรีตผนังจากพื้นจนถึงยอดสุดของอาคารไม่ว่าโครงสร้างผนังจะสูงเพียงไรก็ตาม Slipform จะเลื่อนตัวขึ้นประมาณ 30 เซ็นติเมตรต่อชั่วโมงเป็นอย่างน้อย โดยอาศัยแม่แรงไฮโดรลิคเป็นตัวขับเคลื่อน

การใช้สลิปฟร์อมในการก่อสร้างมีข้อดีหลายประการ เช่น

- เพิ่มความเร็วในการก่อสร้าง เพราะไม่ต้องรอให้คอนกรีตแข็งตัวทั้งหมด ไม่ต้องถอดแบบ ไม่ต้องประกอบแบบ

- เพิ่มความแข็งแกร่งของผิวคอนกรีต เนื่องจากแต่งผิวแล้วเสร็จในคราวเดียวกัน

- เพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน เพราะไม่ต้องใช้แบบไม้หลายชั้น

- เพิ่มความถูกต้องของการทำแบบ เพราะ Slipform มีระบบตรวจวัดค่าระดับติดตั้งพร้อม

- ลดการใช้แรงงาน เพราะใช้แรงงานไม่มากเหมือนกับการก่อสร้างวิธีเข้าแบบผูกเหล็กปกติ


แต่การใช้สลิปฟร์อมในการก่อสร้างก็มีข้อเสียบ้าง เช่น

- ต้องมีการวางแผนและออกแบบโครงสร้างที่เหมาะสมกับการใช้สลิปฟร์อม

- ต้องมีการควบคุมคุณภาพของคอนกรีตที่ใช้หล่อ เพื่อให้มีความยืดหยุ่นและความเหนียวที่เหมาะสม

- ต้องมีการจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการใช้สลิปฟร์อม เช่น ปั๊มคอนกรีต ไฮโดรลิค และระบบควบคุม

- ต้องมีการจัดการและประสานงานที่ดีระหว่างผู้ทำงานในแต่ละส่วน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น

        ดังนั้น ถ้าเราจะใช้สลิปฟร์อมในการก่อสร้าง เราต้องศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลของโครงการที่เราจะทำ เพื่อให้เห็นว่าการใช้สลิปฟร์อมจะเป็นประโยชน์หรือไม่ และถ้าจะใช้ เราต้องเตรียมการทุกอย่างให้พร้อม เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

       ผมหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจในการก่อสร้าง และถ้าผู้อ่านมีข้อสงสัยหรือข้อเสนอแนะ สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ด้านล่างครับ ขอบคุณที่ติดตาม


                                                          วิธีก่อสร้างโดยใช้สลิปฟร์อม

           

วันเสาร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2561

ค้นหารูปแปลงที่ดิน วัดความยาว หาพื้นที่

            วันนี้จะมาแนะนำการค้นหารูปแปลงที่ดิน หาความยาว ขนาดพื้นที่ ของรูปแปลงที่ดิน ผ่านเว็บไซต์ของกรมที่ดินที่ชื่อ  http://dolwms.dol.go.th/tvwebp/   โดยมีข้อมูลรูปแปลงที่ดินให้บริการทั่วประเทศเพียงผู้ใช้บริการ ระบุจังหวัด  อำเภอและเลขที่โฉนดที่ดินที่ต้องการค้นหา ก็จะได้รูปแปลงที่ต้องการ และยังมีเครื่องมือ อำนวยความสะดวกต่างๆเช่น เครื่องมือวัดความยาว รูปสี่เหลี่ยม วงกลม รูปหลายเหลี่ยม 
ขั้นตอนในการใช้งาน
  1. เข้าไปที่เว็บไซต์   http://dolwms.dol.go.th/tvwebp/  จะแสดงดังรูป



2. เลือกจังหวัด อำเภอ  กรอกเลขที่โฉนดที่ดินแล้วกดปุ่ม ค้นหาข้อมูล
3. ระบบจะแสดงรายละเอียดแปลงที่ดินที่ค้นพบในหน้าต่างค้นหา และระบุตำแหน่งที่ตั้งของแปลงที่ดินบนแผนที่ และแสดงรายละเอียดต่างๆ ได้แก่หมายเลขระวางเลขที่ดิน  เลขโฉนดที่ดิน  หน้าสำรวจ  ตำบล  อำเภอ   จังหวัด   สำนักงานที่ดินที่อยู่ในพื้นที่   ค่าพิกัดสำนักงานที่ดิน ลิ้งราคาประเมินรายแปลงจากกรมธนารักษ์   ค่าพิกัดแปลงและข้อมูลการเดินทาง
4. การแสดงผลในมุมมองสตรีทวิวหรือภาพเสมือนจริงของที่ดินนั้นโดยให้คลิกที่เมนู street view รูปคนสีส้มบริเวณด้านขวาล่างของแผนที่   ระบบจะแสดงมุมมองของ street view ที่ดินแปลงนั้น



5. ในกรณีต้องการวัดความยาวของแปลงที่ดินให้ใช้เครื่องหมาย เส้นตรง เคยคลิกลงบนแปลงที่ดิน จากจุดเริ่มต้น ไปยังจุดปลายที่ต้องการวัดแล้วดับเบิ้ลคลิก 2 ครั้งติดต่อกันก็จะแสดงความยาวของแปลงที่ดินด้านนั้นๆ





6.การวัดพื้นที่ให้ใช้เครื่องเครื่องหมายรูปหลายเหลี่ยม คลิกจากจุดแรกและจุดถัดไปจนถึงจุดสุดท้าย ก็จะได้พื้นที่แสดงออกมา






วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560

รีวิวขั้นตอนทำสีอีพ๊อกซี่โรงจอดรถที่บ้าน

       





        เนื่องจากหน้าบ้านมีพื้นที่สำหรับจอดรถได้ 2 คัน มีพื้นที่รวม 30  ตารางเมตร สาเหตุจากมีฝุ่นเยอะและทำความสะอาดยาก   ก็เลยลองทาสีอีพ๊อกซี่ประเภทฟลอร์การ์ดเพื่อจะได้ทำความสะอาดง่าย มีความเงางามสูง ทนทานสำหรับการกระแทก  ก็เลยเลือกใช้สีฟลอร์การ์ดของ TOA  เนื่องจากพื้นคอนกรีตหน้าบ้านเป็นผิวคอนกรีตธรรมดาแต่งเรียบจึงเลือกใช้สีรองพื้น ฟลอร์การ์ดไพรเมอร์ (FloorGuard Primer)  และ สีทับหน้าฟลอร์การ์ด100( FloorGuard 100) เฉด Aquarius 0405   มีรายละเอียดดังนี้

1.เลือกเฉดสีจากแค๊ตตาล๊อกสี ของ TOA





           ดาวโหลดแค๊ตตาล๊อคสีจาก TOA ตามลิ้งนี้   e-Catelog สีอีพ๊อกซี่ Epoxy


2. สั่งซื้อสีที่ร้านตัวแทนจำหน่าย เนื่องจากร้านค้าทั่วไปไม่ได้สต๊อคสินค้าไว้ต้องรอสินค้าประมาณ 3 วันหลังจากสั่งซื้อแล้ว

3. เตรียมพื้นที่ล้างไว้ให้สะอาด และทิ้งไว้ให้แห้ง และทำการอุดโป๊ว รอยแตกร้าว ขรุขระ ด้วยวัสดุอุดโป๊ว FloorGuard putty
4. ทาสีรองพื้น ฟลอร์การ์ดไพรเมอร์ (FloorGuard Primer) โดยทำการผสมส่วน A+B และผสมทินเนอร์เบอร์ 31  ประมาณ 10%  ผสมให้เข้ากัน แล้วจึงใช้ลูกกลิ้งทาลงบนพิ้นที่เตรียมไว้แล้ว   เมื่อทาเสร็จแล้วทิ้งไว้ 1 คืน



5. เวลา 8 โมงเช้าวันถัดมาทำการทาสีทับหน้าชั้นแรก ฟลอร์การ์ด 100  (FloorGuard 100) โดยทำการผสมส่วน A+B และผสมทินเนอร์เบอร์ 31  ประมาณ 10%  ผสมให้เข้ากัน แล้วจึงใช้ลูกกลิ้งทาลงบนพิ้นที่ที่เราทำการทาฟลอร์การ์ดไพรเมอร์ (FloorGuard Primer)ไว้แล้วในขั้นตอนที่ 4   เมื่อทาเสร็จแล้วทิ้งไว้ ประมาณ  6 ชั่วโมง หลังจากนั้น เวลาบ่าย 3 โมง จึงทำการทำสีทับหน้า ฟลอร์การ์ด 100  (FloorGuard 100) เป็นชั้นที่ 2 ทิ้งไว้ให้แห้ง 24 ชั่วโมงจึงสามารถใช้งานได้




6. ค่าใช้จ่ายมีดังนี้ครับ

     - สีอีพ๊อกซี่รองพื้น    ส่วน   A+B จำนวน  1 กระป๋อง  @  900 บาท 
       เป็นเงิน     900.00  บาท
     - สีอีพ๊อกซี่ทับหน้า   ส่วน   A+B จำนวน  2 กระป๋อง  @  1,050 บาท
       เป็นเงิน  2,100.00  บาท
     - ทินเนอร์ เบอร์ 31                                   1  ขวด    @  70   บาท        
        เป็นเงิน       70.00  บาท
     - ลูกกลิ้ง+แปรงทาสี                           เป็นเงิน    160.00  บาท
     - ค่าแรงทาสี      2  วัน@ 500 บาท     เป็นเงิน  1,000.00  บาท

     - รวมค่าใช้จ่าย                                    เป็นเงิน  4,230.00  บาท

     - พื้นที่ทาสี           30 ตารางเมตร
     - เฉลี่ยค่าใช้จ่ายต่อตารางเมตร           = 4,230/30      บาท
                                                                 =    141  บาท/ตารางเมตร

ท่านใดที่สนใจสามารถทำเองได้ครับ

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การเจาะดึงท่อลอดด้วยวิธี HORIZONTAL DIRECTIONAL DRILLING (HDD)

            การเจาะดึงท่อลอดด้วยวิธี HORIZONTAL DIRECTIONAL DRILLING   เป็นวิธีการทำงานไม่ต้องขุดเปิดหน้าดิน เหมาะสำหรับงานท่อร้อยสายโทรศัพท์   งานวางท่อข้ามแม่น้ำ   งานวางท่อก๊าซ   งานวางท่อประปา    ก่อนดำเนินการจะต้องสํารวจพื้นที่ในการเจาะเพื่อตรวจหาอุปสรรคใต้ดิน เช่น ท่อเดิม  ท่อระบายน้ำ  ฯลฯ  จากนั้นจึงกำหนดพื้นที่ในการติดตั้งเครื่องจักร โดยปกติเครื่องจักรที่ทําการเจาะลากท่อโดยวิธี HDD นี้ต้องการพื้นที่ในการวางเครื่องจักรประมาณ 7 เมตร  และตําแหน่งที่ทําการเจาะจะห่างจากบ่อดัน ประมาณ 10-15 เมตร  โดยประมาณซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความ ลึกของบ่อดันด้วย



                                            HORIZONTAL DIRECTIONAL DRILLING


            ส่วนเครื่องมือสำหรับเจาะดึงและวัสดุ (HORIZONTAL DIRECTIONAL DRILLING   EQUIPMENT AND  MATERIALS) จะประกอบด้วย

  1. เครื่องเจาะดึงพร้อมอุปกรณ์
  2. เครื่องเช็คแนวเจาะ
  3. ท่อ HDPE PN 10  หรือ  ท่อเหล็ก
  4. สารละลาย BENTONITE
  5. สารละลาย POLYMER

          การเจาะดึงท่อลอดจะมีขั้นตอนในการทำงาน (HORIZONTAL DIRECTIONAL DRILLING   PROCEDURE ) หลักๆ 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย

        1. ทําการเจาะดัน      เป็นการเจาะโดยใช้หัวเจาะติดไว้ที่ปลายท่อเจาะโดยเหล็ก (ROD) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 ซม. ความยาวท่อนละประมาณ 3.00 เมตร ดันและหมุนด้วยระบบไฮโดรลิกภายในหัวเจาะบรรจุตัวส่งสัญญาณคลื่นวิทยุไว้ด้วยตัวรับสัญญาณแบบมือถือ  โดยจะส่งสัญญาณไปยังผู้อ่านค่าและเครื่องจักรสามารถแปลสัญญาณบอกตําแหน่ง ความลึก การหมุนหัวเจาะ อุณหภูมิหัวเจาะ หรือ แม้แต่กําลังแบตเตอรี่ ของหัวสัญญาณ ข้อมูลเหล่านี้ทําให้เราสามารถควบคุมทิศทาง และความลึกของหัวเจาะ ได้
       2. การสร้างอุโมงค์   เมื่อหัวเจาะๆถึงที่หมายตามกําหนดเราจะถอดหัวเจาะออกและใส่หัวคว้าน (REMER)รู เพื่อสร้างอุโมงค์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นตามความต้องการเพื่อขยายแนวเจาะที่เจาะไว้ให้ขยายใหญ่กว่าขนาดของท่อที่ทําการลาก   ในขั้นตอนนี้จะทําการอัดฉีดสารละลายเบนโทรไนท์ (BENTONITE) และโพลิเมอร์(POLYMER) หรือเรียกว่า “ดินเทียม” เพื่อช่วยในการหล่อลื่นและสร้างผนังป้องกันดินพังภายในอุโมงค์
       3. การดึงลากท่อกลับ     เมื่อคว้านสร้างอุโมงค์ใหญ่พอตามต้องการแล้วจึงทําการลากท่อ ด้วยหลักการลากท่อเข้าไปแทนที่ดิน ขั้นตอนในการลากท่อจะมีอุปกรณ์ และวิธีทําคล้ายกับการคว้านโดยเราจะนําท่อที่ใส่หัวสําหรับลากมาต่อที่ปลายของตัวหมุน (SWIVEL) และทําการลากท่อโดยหัวลากนี้จะปิดไม่ให้ดินที่ผสมกับเบนโทรไนท์ (BENTONITE) และโพลิเมอร์(POLYMER)เข้าไปในท่อเพราะจะทําให้ผิวภายในท่อไม่สะอาด    หลังจากขั้นตอนการทํางานเสร็จเรียบร้อย  ก็ทําการตรวจเช็คความเรียบร้อยของท่อและ อุปกรณ์ หลังจากนั้นก็ทําการถอด หัวคว้าน(REMER) ,หัวหมุน (SWIVEL),และหัวดึงท่อออก ทําความสะอาดในท่อ และทดสอบท่อต่อไป

ราคากลางงานก่อสร้าง

               ปัจจุบันนี้ การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐทุกหน่วยงานจะต้องจัดทำประกาศ TOR ให้ผู้ที่สนใจได้ทราบเกี่ยวกับโครงการต่างๆว่าจะทำอะไร  ระยะเวลาเท่าไร  เมื่อประกาศ TOR แล้วก็จะประกาศราคาจัดซื้อจัดจ้างเพื่อหาผู้รับเหมาพร้อมกับราคากลาง ซึ่งเราสามารถเข้าไปดาวโหลดรายละเอียดราคากลางได้ ดังนี้

1. เข้าไปที่เวบไซด์   http://www.gprocurement.go.th




2. ค้นหาประเภทประกาศ  > ประกาศเชิญชวน

3. เลือกหน่วยงาน (ไม่เลือกก็ได้)

4. เลือกจังหวัด

5. เลือกค้นหา ก็จะได้พบประกาศตามที่ต้องการ






















6. เมื่อเลือกประกาศที่ต้องการแล้ว ด้านขวาสุดจะมีประกาศที่เกี่ยข้อง คลิก 1 ครั้งก็จะมีไฟล์ราคากลางให้ดาวโหลดดังนี้





  

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วิธีแก้เมื่อ AutoCAD เปิดไม่ได้

              บ่อยครั้งที่เรา save ไฟล์  AutoCAD เพื่อไว้ใช้งานเครื่องอื่นๆ แล้วไม่สามารถเปิดไฟล์นั้นๆได้ ไม่ว่าจะนามสกุล .dwg .dxf .dwt      เพราะว่าไฟล์งานเหล่านั้นถูกบันทึกมาคนละเวอร์ชั่นกัน เช่น ไฟล์ cad บันทึกมาเป็น AutoCAD 2013 แต่พอนำไฟล์ที่บันทึกไว้มาเปิดเครื่องใหม่ที่เป็น Autocad 2007  ก็จะไม่สามารถเปิดไฟล์นั้นได้ ต้องให้ไฟล์ต้นฉบับบันทึกมาเป็นเวอร์ชั่นที่ตรงกัน ถึงจะเปิดได้    ดังนั้น วิธีแก้ปัญหานั้น โดยการใช้โปรแกรม DWG TrueView มาทำการเปิดไฟล์ดังกล่าว  (ตามความเป็นจริงต้องการแค่แปลงไฟล์เท่านั้นเอง)โดยทั่วไปมีความสามารถดังนี้ครับ




                                                                 DWG TrueView

เปิดไฟล์ Autocad ได้ทุกเวอร์ชั่น ไม่ว่าจะเป็น AutoCAD 2007-2017  ได้หมด
สามารถแปลงไฟล์ Autocad ให้เป็นเวอร์ชั่นปัจจุบันที่ใช้งานอยู่  ท่านสนใจสามารถดาวน์โหลดไปใชงานกันได้ที่นี่  AUTODESK DWG TRUEVIEW 2017







รู้ยังทำไมท่อ HDPE ถึงมีสีดำ





พอลิเอทิลีน (Polyethylene) หรือ เรียกว่า PE “พีอี” เป็นพลาสติกที่ผลิตขึ้นมาจากสารตั้งต้นเอทิลีน (ผลผลิตจากปิโตรเลียม) มีสีขาวขุ่นโปร่งแสง  มีความลื่นมันในตัวเอง เมื่อสัมผัสจึงรู้สึกลื่น ยืดหยุ่นได้ดี และที่สำคัญ ไม่มีกลิ่น และรส   มีความเหนียว  ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี  เป็นฉนวนไฟฟ้าได้ดีมาก ใส่สีผสมได้ง่าย มีความหนาแน่นต่ำกว่าน้ำจึงลอยน้ำได้ดี

ท่อHDPE

             ปัจจุบันเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตามมาตรฐานเลขที่ มอก.982-2556 กำหนดให้ท่อพอลิเอทิลีนสำหรับน้ำดื่ม  ต้องผลิตจากพอลิเอทิลีนเรซิ่นชนิดความหนาแน่นสูงที่หลอมผสมกับสารเติมแต่งเพื่อปรับให้เหมาะสำหรับการขึ้นรูปคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์สำหรับผลิตเป็นท่อพอลิเอทิลีนสำหรับน้ำดื่มเท่านั้น ใช้ส่งน้ำเพื่อการบริโภคที่ความดันใช้งานสูงสุดไม่เกิน 25 บาร์  ที่อุณหภูมิใช้งานอ้างอิง 20 องศาเซลเซียส อายุการใช้งาน 50 ปี หรือเรียกสั้นๆว่า “ท่อ HDPE”

            เคยสังเกตุเห็นไหมเมื่อเราขับรถไปท่องเที่ยวจะมีงานขุดวางท่อประปาเป็นช่วงๆ  ทำไมท่อ HDPE ถึงมีแต่สีดำ ทำไมไม่ผลิตท่อให้มีสีแดง สีเขียว สีเหลือง บ้าง   ก็เพราะว่่าท่อHDPE บางครั้งจะวางบนดินซึ่งเจอแสงแดด จากคุณสมบัติของวัสดุพอลิเอทิลีนที่มีสีขาวขุ่นโปร่งแสง เมื่อนำมาวางบนผิวดินจะทำให้ได้รับแสงยูวีจากแสงอาทิตย์ได้ ดังนั้นเพื่อปองกันปัญหาดังกล่าว  ในขั้นตอนการผลิตจะมีการเติมสาร Carbon  Black ลงไปในส่วนผสมช่วยทำให้ท่อHDPEมีสีดำเพื่อช่วยป้องกันรังสียูวีจากแสงอาทิตย์ ท่อHDPE ที่จะใช้งานสำหรับน้ำดื่ม  จะใช้เม็ดพลาสติก พอลิเอทิลีน 2 ชั้นคุณภาพได้แก่  PE80 และ PE100    เป็นท่อผนังชั้นเดียว  ท่อผนังหลายชั้น  จะมีแถบหรือไม่มีแถบคาดข้างท่อก็ได้

วิธีก่อสร้างโดยใช้สลิปฟร์อม (Slipform)

สลิปฟร์อม (Slipform)         สวัสดีครับ วันนี้ผมมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับการใช้สลิปฟร์อมในงานก่อสร้าง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถช่วยลดปัญหาแ...