วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การเจาะดึงท่อลอดด้วยวิธี HORIZONTAL DIRECTIONAL DRILLING (HDD)

            การเจาะดึงท่อลอดด้วยวิธี HORIZONTAL DIRECTIONAL DRILLING   เป็นวิธีการทำงานไม่ต้องขุดเปิดหน้าดิน เหมาะสำหรับงานท่อร้อยสายโทรศัพท์   งานวางท่อข้ามแม่น้ำ   งานวางท่อก๊าซ   งานวางท่อประปา    ก่อนดำเนินการจะต้องสํารวจพื้นที่ในการเจาะเพื่อตรวจหาอุปสรรคใต้ดิน เช่น ท่อเดิม  ท่อระบายน้ำ  ฯลฯ  จากนั้นจึงกำหนดพื้นที่ในการติดตั้งเครื่องจักร โดยปกติเครื่องจักรที่ทําการเจาะลากท่อโดยวิธี HDD นี้ต้องการพื้นที่ในการวางเครื่องจักรประมาณ 7 เมตร  และตําแหน่งที่ทําการเจาะจะห่างจากบ่อดัน ประมาณ 10-15 เมตร  โดยประมาณซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความ ลึกของบ่อดันด้วย



                                            HORIZONTAL DIRECTIONAL DRILLING


            ส่วนเครื่องมือสำหรับเจาะดึงและวัสดุ (HORIZONTAL DIRECTIONAL DRILLING   EQUIPMENT AND  MATERIALS) จะประกอบด้วย

  1. เครื่องเจาะดึงพร้อมอุปกรณ์
  2. เครื่องเช็คแนวเจาะ
  3. ท่อ HDPE PN 10  หรือ  ท่อเหล็ก
  4. สารละลาย BENTONITE
  5. สารละลาย POLYMER

          การเจาะดึงท่อลอดจะมีขั้นตอนในการทำงาน (HORIZONTAL DIRECTIONAL DRILLING   PROCEDURE ) หลักๆ 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย

        1. ทําการเจาะดัน      เป็นการเจาะโดยใช้หัวเจาะติดไว้ที่ปลายท่อเจาะโดยเหล็ก (ROD) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 ซม. ความยาวท่อนละประมาณ 3.00 เมตร ดันและหมุนด้วยระบบไฮโดรลิกภายในหัวเจาะบรรจุตัวส่งสัญญาณคลื่นวิทยุไว้ด้วยตัวรับสัญญาณแบบมือถือ  โดยจะส่งสัญญาณไปยังผู้อ่านค่าและเครื่องจักรสามารถแปลสัญญาณบอกตําแหน่ง ความลึก การหมุนหัวเจาะ อุณหภูมิหัวเจาะ หรือ แม้แต่กําลังแบตเตอรี่ ของหัวสัญญาณ ข้อมูลเหล่านี้ทําให้เราสามารถควบคุมทิศทาง และความลึกของหัวเจาะ ได้
       2. การสร้างอุโมงค์   เมื่อหัวเจาะๆถึงที่หมายตามกําหนดเราจะถอดหัวเจาะออกและใส่หัวคว้าน (REMER)รู เพื่อสร้างอุโมงค์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นตามความต้องการเพื่อขยายแนวเจาะที่เจาะไว้ให้ขยายใหญ่กว่าขนาดของท่อที่ทําการลาก   ในขั้นตอนนี้จะทําการอัดฉีดสารละลายเบนโทรไนท์ (BENTONITE) และโพลิเมอร์(POLYMER) หรือเรียกว่า “ดินเทียม” เพื่อช่วยในการหล่อลื่นและสร้างผนังป้องกันดินพังภายในอุโมงค์
       3. การดึงลากท่อกลับ     เมื่อคว้านสร้างอุโมงค์ใหญ่พอตามต้องการแล้วจึงทําการลากท่อ ด้วยหลักการลากท่อเข้าไปแทนที่ดิน ขั้นตอนในการลากท่อจะมีอุปกรณ์ และวิธีทําคล้ายกับการคว้านโดยเราจะนําท่อที่ใส่หัวสําหรับลากมาต่อที่ปลายของตัวหมุน (SWIVEL) และทําการลากท่อโดยหัวลากนี้จะปิดไม่ให้ดินที่ผสมกับเบนโทรไนท์ (BENTONITE) และโพลิเมอร์(POLYMER)เข้าไปในท่อเพราะจะทําให้ผิวภายในท่อไม่สะอาด    หลังจากขั้นตอนการทํางานเสร็จเรียบร้อย  ก็ทําการตรวจเช็คความเรียบร้อยของท่อและ อุปกรณ์ หลังจากนั้นก็ทําการถอด หัวคว้าน(REMER) ,หัวหมุน (SWIVEL),และหัวดึงท่อออก ทําความสะอาดในท่อ และทดสอบท่อต่อไป

ราคากลางงานก่อสร้าง

               ปัจจุบันนี้ การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐทุกหน่วยงานจะต้องจัดทำประกาศ TOR ให้ผู้ที่สนใจได้ทราบเกี่ยวกับโครงการต่างๆว่าจะทำอะไร  ระยะเวลาเท่าไร  เมื่อประกาศ TOR แล้วก็จะประกาศราคาจัดซื้อจัดจ้างเพื่อหาผู้รับเหมาพร้อมกับราคากลาง ซึ่งเราสามารถเข้าไปดาวโหลดรายละเอียดราคากลางได้ ดังนี้

1. เข้าไปที่เวบไซด์   http://www.gprocurement.go.th




2. ค้นหาประเภทประกาศ  > ประกาศเชิญชวน

3. เลือกหน่วยงาน (ไม่เลือกก็ได้)

4. เลือกจังหวัด

5. เลือกค้นหา ก็จะได้พบประกาศตามที่ต้องการ






















6. เมื่อเลือกประกาศที่ต้องการแล้ว ด้านขวาสุดจะมีประกาศที่เกี่ยข้อง คลิก 1 ครั้งก็จะมีไฟล์ราคากลางให้ดาวโหลดดังนี้





  

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วิธีแก้เมื่อ AutoCAD เปิดไม่ได้

              บ่อยครั้งที่เรา save ไฟล์  AutoCAD เพื่อไว้ใช้งานเครื่องอื่นๆ แล้วไม่สามารถเปิดไฟล์นั้นๆได้ ไม่ว่าจะนามสกุล .dwg .dxf .dwt      เพราะว่าไฟล์งานเหล่านั้นถูกบันทึกมาคนละเวอร์ชั่นกัน เช่น ไฟล์ cad บันทึกมาเป็น AutoCAD 2013 แต่พอนำไฟล์ที่บันทึกไว้มาเปิดเครื่องใหม่ที่เป็น Autocad 2007  ก็จะไม่สามารถเปิดไฟล์นั้นได้ ต้องให้ไฟล์ต้นฉบับบันทึกมาเป็นเวอร์ชั่นที่ตรงกัน ถึงจะเปิดได้    ดังนั้น วิธีแก้ปัญหานั้น โดยการใช้โปรแกรม DWG TrueView มาทำการเปิดไฟล์ดังกล่าว  (ตามความเป็นจริงต้องการแค่แปลงไฟล์เท่านั้นเอง)โดยทั่วไปมีความสามารถดังนี้ครับ




                                                                 DWG TrueView

เปิดไฟล์ Autocad ได้ทุกเวอร์ชั่น ไม่ว่าจะเป็น AutoCAD 2007-2017  ได้หมด
สามารถแปลงไฟล์ Autocad ให้เป็นเวอร์ชั่นปัจจุบันที่ใช้งานอยู่  ท่านสนใจสามารถดาวน์โหลดไปใชงานกันได้ที่นี่  AUTODESK DWG TRUEVIEW 2017







รู้ยังทำไมท่อ HDPE ถึงมีสีดำ





พอลิเอทิลีน (Polyethylene) หรือ เรียกว่า PE “พีอี” เป็นพลาสติกที่ผลิตขึ้นมาจากสารตั้งต้นเอทิลีน (ผลผลิตจากปิโตรเลียม) มีสีขาวขุ่นโปร่งแสง  มีความลื่นมันในตัวเอง เมื่อสัมผัสจึงรู้สึกลื่น ยืดหยุ่นได้ดี และที่สำคัญ ไม่มีกลิ่น และรส   มีความเหนียว  ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี  เป็นฉนวนไฟฟ้าได้ดีมาก ใส่สีผสมได้ง่าย มีความหนาแน่นต่ำกว่าน้ำจึงลอยน้ำได้ดี

ท่อHDPE

             ปัจจุบันเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตามมาตรฐานเลขที่ มอก.982-2556 กำหนดให้ท่อพอลิเอทิลีนสำหรับน้ำดื่ม  ต้องผลิตจากพอลิเอทิลีนเรซิ่นชนิดความหนาแน่นสูงที่หลอมผสมกับสารเติมแต่งเพื่อปรับให้เหมาะสำหรับการขึ้นรูปคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์สำหรับผลิตเป็นท่อพอลิเอทิลีนสำหรับน้ำดื่มเท่านั้น ใช้ส่งน้ำเพื่อการบริโภคที่ความดันใช้งานสูงสุดไม่เกิน 25 บาร์  ที่อุณหภูมิใช้งานอ้างอิง 20 องศาเซลเซียส อายุการใช้งาน 50 ปี หรือเรียกสั้นๆว่า “ท่อ HDPE”

            เคยสังเกตุเห็นไหมเมื่อเราขับรถไปท่องเที่ยวจะมีงานขุดวางท่อประปาเป็นช่วงๆ  ทำไมท่อ HDPE ถึงมีแต่สีดำ ทำไมไม่ผลิตท่อให้มีสีแดง สีเขียว สีเหลือง บ้าง   ก็เพราะว่่าท่อHDPE บางครั้งจะวางบนดินซึ่งเจอแสงแดด จากคุณสมบัติของวัสดุพอลิเอทิลีนที่มีสีขาวขุ่นโปร่งแสง เมื่อนำมาวางบนผิวดินจะทำให้ได้รับแสงยูวีจากแสงอาทิตย์ได้ ดังนั้นเพื่อปองกันปัญหาดังกล่าว  ในขั้นตอนการผลิตจะมีการเติมสาร Carbon  Black ลงไปในส่วนผสมช่วยทำให้ท่อHDPEมีสีดำเพื่อช่วยป้องกันรังสียูวีจากแสงอาทิตย์ ท่อHDPE ที่จะใช้งานสำหรับน้ำดื่ม  จะใช้เม็ดพลาสติก พอลิเอทิลีน 2 ชั้นคุณภาพได้แก่  PE80 และ PE100    เป็นท่อผนังชั้นเดียว  ท่อผนังหลายชั้น  จะมีแถบหรือไม่มีแถบคาดข้างท่อก็ได้

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

รู้จักแอสฟัลท์ติกแล้วยัง


แอสฟัลท์คอนกรีต หรือเรียกย่อๆว่า”แอสฟัลท์” เป็นวัสดุผสมประกอบด้วยยางมะตอย(แอสฟัลท์ซีเมนต์ AC 60-70) หรือใช้โมดิฟายด์แอสฟัลท์ซีเมนต์ (PMA)  หินย่อย หินฝุ่น โดยอาศัยโรงงานผสม (Plant mix) โดยการเผาให้ความร้อนแก่ส่วนผสมต่างๆข้างต้น จนได้อุณหภูมิที่ต้องการแล้วผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันในเครื่องผสมในอัตราส่วนที่ออกแบบไว้ เมื่อผสมจนได้ที่แล้วจึงเทใส่รถบรรทุกขนส่งไปยังสถานที่ก่อสร้างพร้อมเทลงในเครื่องปูแอสฟัลท์ (Asphalt paver) โดยจะปูตามความหนาที่กำหนด เช่น 3  , 4 หรือ 5 เซนติเมตร แล้วบดอัดด้วยรถบดล้อเหล็กสั่นสะเทือน และล้อยางตามลำดับ เพื่อให้ผิวทางมีความแข็งแรงและรับน้ำหนักได้สูง นิยมใช้สำหรับงานผิวถนน ผิวทางสนามบิน ฯลฯ
ดังนั้นการหาปริมาณการใช้แอสฟัลท์คอนกรีต(asphalt concrete) สามารถหาได้ตามสูตรดังนี้
ปริมาณการใช้แอสฟัลท์    =     ความกว้าง  x  ความยาว x ความหนา x 2400 กก./ลบ.ม.(หรือ 2.4 ตัน/ลบ.ม.)
เช่น ต้องการปูถนนแอสฟัลท์ ความหนา 5 ซม. ความกว้าง 6.00 เมตร ยาว 1,000.00 เมตร
เราสามารถหาปริมาณการใช้แอสฟัลท์ได้ดังนี้
ปริมาณการใช้แอสฟัลท์        =     6.00  x  1,000.00 x 0.05 x 2.4
                                                 =     720 ตัน
***หมายเหตุ แอสฟัลท์คอนกรีต 1 ลูกบาศก์เมตรมีน้ำหนักประมาณ 2,350 ถึง 2,400 กิโลกรัม (นิยมใช้ค่า2,400 กก./ลบ.ม.)
          ราคาแอสฟัลท์คอนกรีต (asphalt concrete) จะซื้อขายกันที่โรงงานผสมซึ่งมีหน่วยเป็นตัน โดยการชั่งน้ำหนักรถที่จะบรรทุกระหว่างรถเข้ากับรถออกผลต่างที่ได้จะเป็นน้ำหนักของแอสฟัลท์ ราคาแอสฟัลท์คอนกรีตแต่ละจังหวัดจะไม่เท่ากันเนื่องจากแหล่งวัสดุที่นำมาผสมเป็นแอสฟัลท์คอนกรีต(asphalt concrete) แตกต่างกัน โดยทั่วไปแล้วงานแอสฟัลท์คอนกรีตจะประกอบด้วย
1. ราคาแอสฟัลท์คอนกรีตที่โรงงานผสมประมาณตันละ 2,500 - 3,000 บาท
2. ค่าขนส่งไปยังหน่วยงานที่ก่อสร้าง
3. ค่าแรงปูแอสฟัลท์คอนกรีต

วิธีการตอกเสาเข็มในน้ำ


               วิธีการตอกเสาเข็มในน้ำโดยทั่วๆไปแล้วจะต้องตั้งนั่งร้านเพื่อรองรับปั้นจั่นซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูง แต่ในบางกรณีที่การใช้เสาเข็มไม่ใหญ่มากนัก เช่น เสาเข็มคอนกรีต เสาเข็มไม้ การตอกเสาเข็มวิธีนี้โดยทั่วไปจะใช้แรงงานคนโดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของคนงานหลายๆคน นับ1…นับ2…นับ…3 เสาเข็มก็จะจมลงเรื่อยๆ จนได้ความยาวที่ต้องการ

              กรณีที่เสาเข็มมีขนาดใหญ่ หากไม่ตั้งนั่งร้านเพื่อรองรับปั้นจั่น วิธีหนึ่งที่สามารถทำได้ กล่าวคือ เราต้องปักเสาเข็มลงในชั้นดินเบื้องต้นก่อนประมาณ 1-2 เมตร อาจจะใช้สว่านเจาะ(Auger) นำก็ได้ จากนั้นใช้ตุ้มติดตั้งบนหัวเสาเข็มโดยอาศัยรถเครนช่วยยกประคองตุ้มแล้วใช้ไฮโดรลิคควบคุมจังหวะการขึ้นลงของตุ้ม กรณีนี้ตำแหน่งเสาเข็มต้องอยู่ในตำแหน่งที่เครื่องจักรสามารถเข้าไปทำงานได้


วิธีการตอกเสาเข็มในน้ำ

การนำ Google Earth มาใช้ในงานก่อสร้าง



             หลายๆท่านคงเคยได้ยินโปรแกรม Google Earth มาบ้างแล้ว ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวมีประโยชน์ในวงการก่อสร้างเป็นอย่างมาก และที่สำคัญเป็นโปรแกรมฟรี  มีเครื่องมือใหใช้หลากหลาย  เช่น

  •  สร้างรูปหลายเหลี่ยม
  •  การวัดระยะทาง
  • โปรไฟล์ระดับความสูง
  • ไม้บรรทัดสามารถวัดระยะบนแผนที่
  • กำหนดตำแหน่งอาคารลงบนแผนที่
  • การนำพิกัดภาพถ่ายมาลงในแผนที่
  • การสำรวจเส้นทางก่อสร้างเบื้องต้นในมุมมองเสมือนจริง

             ตามที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า Google Earth ทำให้งานก่อสร้างง่ายจริงๆ  ที่สำคัญตอนนี้ Google จะให้เราใช้โปรแกรม  Google Earth Pro แบบฟรีๆ ซึ่งเมื่อก่อนต้องเสียค่าโปรแกรมประมาณ 399$ (หรือประมาณ 13,000 บาทต่อปี) ซึ่งจะมีลูกเล่นต่างๆอีกมากมาย มีเครื่องมือครบครัน สามารถแสดงภาพตึกและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในรูปแบบ 3 มิติได้ , การวัดพื้นที่ , การแทรกข้อมูล GIS  , พิมพ์ภาพได้ขนาดใหญ่ 4800 พิกเซล (เดิม 1,000 พิกเซล) ฯลฯ  ทั้งนี้สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ Google Earth Pro กันแบบฟรี ๆ ก็ไม่ยาก เพียงแค่เข้าไปสมัครสมาชิกที่ geoauth.google.com จากนั้นจะมี License Key ส่งมาทางอีเมลที่ใช้สมัคร สามารถนำไปกรอกในโปรแกรม Google Earth Pro เพื่อใช้ฟรีได้เลยครับแต่มีเงื่อนไขการใช้งานดังนี้

  • ใช้งานได้เพียง 1 เครื่องเท่านั้น
  • อัปเดทเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ได้ตลอดชีพ
  • ไม่รองรับการช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาจากการใช้งาน
  • ลบหรือติดตั้งโปรแกรมใหม่ได้ตลอด
  • เงื่อนไขการใช้งานอาจมีการเปลี่ยนแปลงจากผู้ให้บริการในอนาคต

ขอบคุณครับ Google

แปลงไฟล์ PDF เป็น DWG


          เนื่องจากบ่อยครั้งที่เรามีแบบแปลนเป็นไฟล์ PDF แต่อยากนำไฟล์มาแก้ไขเป็นไฟล์ DWG  เพื่อเพิ่มรายละเอียดในโปรแกรม AutoCad      โปรแกรมแปลงไฟล์   Any  PDF to DWG  Converter เป็นโปรแกรมหนึ่งที่สามารถแปลงไฟล์ PDF เป็น DWG  ได้ดีมากๆ  สามารถลดระยะเวลาในการเขียนแบบแปลน   วิธีการใช้งานไม่ยุ่งยาก  ทางเจ้าของโปรแกรมได้ให้ทดลองใช้งาน 3 ครั้ง  ถ้าจะใช้ต่อต้องลงทะเบียนครับ

ดาวโหลดทดลองใช้งานที่นี่  Any PDF to DWG Converter



                                                           แปลงไฟล์ PDF เป็น DWG


วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การติดตั้งเครื่องหมายจราจรในงานก่อสร้าง



 ในงานก่อสร้าง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องติดตั้งเครื่องหมายจราจร เพื่อบังคับ เตือน แนะนำ ผู้เดินทางไปมาให้ได้รับความสะดวกและไม่เป็นอุปสรรค์ต่อการก่อสร้าง การติดตั้งเครื่องหมายจราจรมีความสำคัญมากเนื่องจากจะทำให้ผู้ใช้ทางใช้รถด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากไม่มีเครื่องหมายจราจรหรือมีแต่ไม่เพียงพอเพียงพอ ดังนั้นจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ทางเป็นสำคัญเนื่องจากชีวิตคนมีค่ามากกว่าเครื่องหมายจราจรมากๆซึ่งมาสามารถนำมาเปรียบเทียบได้ ฉะนั้นจึงไม่ควรประหยัดค่าเครื่องหมายจราจร

ป้ายคนทำงานการพิจารณาติดตั้งเครื่องหมายจราจรในงานก่อสร้างให้ปลอดภัยควรคำนึงดังนี้
1. ติดตั้งป้ายเตือนล่วงหน้าก่อนถึงงานก่อสร้าง เพื่อให้ผู้ขับขี่ทราบถึงจุดอันตราย
2. ติดตั้งป้ายแสดงอุปสรรค์และการเบี่ยงเบนแนวการจราจร
3. ติดตั้งป้ายประกาศและป้ายแนะนำอื่นๆร่วม
4. ควรติดตั้งไฟกระพริบสีเหลืองไว้ในที่เห็นได้ชัดเจน
5. ป้ายจราจรจะต้องมั่นคงและแข็งแรง เนื่องจากมีแรงลมจากการจราจรปะทะตลอดเวลา
6. ข้อความ สัญลักษณ์บนแผ่นป้ายจราจร ต้องชัดเจน อ่านง่าย
7. ป้ายจราจรต้องสะท้อนแสง หรือ มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อให้มองเห็นชัดเจนในเวลากลางคืน
8. กรณีปิดช่องจราจรควรติดตั้งกรวยทุกระยะ 30 เมตร
9. ถ้าต้องปิดช่องจราจรต้องมีสัญญาณธงเขียว-ธงแดงอย่างชัดเจน
10. เมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จควรรื้อป้ายจราจรออกทันที เพื่อผู้ป้องกันผู้ใช้ทางสับสน
11. ตำแหน่งระยะป้ายจราจรต้องติดตั้งให้เหมาะสมโดยคำนวณจากความเร็วของรถ ดังนี้
- ก่อนถึงงานก่อสร้าง 1 กม. ต้องติดตั้งป้ายเตือนไว้ล่วงหน้า เช่น “กำลังก่อสร้างทางข้างหน้า” เพื่อให้ผู้ใช้ทางระมัดระวังและลดความเร็ว
- ป้ายจราจร “คนทำงาน” หรือ “เครื่องจักรกำลังทำงาน” ควรติดตั้งห่างจากจุดทำงานจริงไม่น้อยกว่า 150 เมตร
- ป้ายติดตั้งถาวร ความสูงของป้าย 1.50 ถึง 2.00 เมตร และห่างจากผิวไหล่ทาง 0.60 – 4.00 เมตร
- ป้ายติดตั้งแบบเคลื่อนย้าย ความสูงของป้าย ไม่น้อยกว่า 0.50 เมตร จากผิวจราจร

วิธีก่อสร้างโดยใช้สลิปฟร์อม (Slipform)

สลิปฟร์อม (Slipform)         สวัสดีครับ วันนี้ผมมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับการใช้สลิปฟร์อมในงานก่อสร้าง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถช่วยลดปัญหาแ...